วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทเพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

เพลงหนอน
หนอนตัวใหญ่ๆ เดินกันไป เดินกันมา กระดึ๊บ..กระดึ๊บ
หนอนตัวเล็กๆ เดินกันไป เดินกันมากระดึ๊บ..กระดึ๊บ

หนอนตัวยาวๆ ชอบเดินช้า กระดึ๊บ..กระดึ๊บ

หนอนตัวสั้นๆ ชอบเดินเร็ว ดุ๊กดิ๊กๆ
ศุกร์ 6,มีนาคม2552

แต่งตัวกับตัวเลข
ขณะที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลูกน้อยแต่งตัวหลังจากอาบน้ำ ลองหาอะไรเพลินๆ มาเล่นกับเจ้าตัวน้อยของคุณ โดยการค่อยๆ สัมผัส และนับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไปจนถึงเสื้อผ้าที่จะใส่ด้วย อย่างเช่น จับที่นิ้วมือของเด็ก ขณะที่กำลังจะใส่เสื้อว่า มีนิ้วมือทั้งหมดกี่นิ้ว จากนั้นอาจไปสำรวจนิ้วเท้า ขณะใส่กระโปรงหรือกางเกง แล้วนับตัวเลขออกมาดังๆให้ลูกได้ยิน นับกระดุมบนเสื้อว่ามีกี่เม็ด เด็กจะได้เรียนรู้จักอวัยวะต่างๆ และหัดนับตัวเลขไปพร้อมๆกัน

ของเล่นคู่เหมือน
นำของเล่น 2 ชิ้นที่เหมือนกันมาวางไว้ในที่ที่เด็กจะมองเห็นได้ และหยิบถึง เมื่อเด็กเริ่มเข้ามามอง ก็พูดคุยกระตุ้นให้เขาสนใจ และบอกให้เขาหยิบของเล่น นั้นให้คุณ โดยเกมนี้จะสามารถเล่นกับเด็กที่สามารถเข้าใจความหมายของคำ และคำสั่งได้แล้วเท่านั้น เมื่อเด็กมองเห็นของเล่น และเข้าใจคำสั่ง ก็จะหยิบของเล่นชิ้นแรกมาให้ "ตอนนี้มีอยู่ 1 แล้ว มันต้องมีคู่กันนะ หยิบอีกอันหนึ่งมาด้วยซิจ๊ะ" ชวนให้เขาหยิบของเล่นอีกอันหนึ่งที่เหลือ และที่เหมือนกันนั้นมาด้วย แล้วก็นับว่า กลายเป็นคู่แล้ว เป็น 1 และ2

ในนี้มีกี่ชิ้น
ให้หาลูกปัดขนาด 2 นิ้ว หรือกล่องนิ่มๆ ที่มีสีสันดึงดูดสายตาสัก 5-6 ชิ้น ใส่ลงในภาชนะใส่ของแล้วแต่จะหาได้ และวางไว้ในที่ที่เด็กจะมองเห็นได้ แล้วรอให้เด็กหยิบของเล่นนั้นมาเล่น หรือให้เทของเล่นออกมาให้หมด เมื่อเทของเล่นออกมาแล้ว ก็ช่วยเด็กหยิบของเล่นใสเข้าที่ตามเดิม โดยนับจำนวนของเล่นไปด้วย "หยิบเข้าไปกี่ชิ้น ลองนับดูซิคะ1, 2, 3, 4, 5,... " เด็กจะเรียนรู้เรื่องจำนวน


วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดี18,52

อาจารย์อธิบาย เรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก "คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวเรา"
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย
1.สอนในชีวิตประจำวัน
2.ผ่านกิจกรรมประจำวันที่สัมพันธ์กับกิจวัตรประจำวันของเด็ก
3.ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
4.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอยางดี
5.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้"พบคำตอบด้วยตนเอง"
6.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก (ให้เด็กได้แตะต้องของจริง เป็นนามธรรมก่อนแล้ว แทนด้วยสัญลักษณ์ จะยิ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น แต่...ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว)
7.ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
8.รู้จักใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์
9.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ จะต้องฝึกให้เด็กพัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นแอนดับแรก ถ้าหาดเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ ^^


วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551



สำหรับเด็กปฐมวัย คณิตศาสตร์ ผู้ปกครองสามารถที่จะร่วมกิจกรรม กับลูกได้ที่บ้าน*0* ไม่ว่าจะเป็นการนับหรือ จดจำ สิ่งของรอบตัวภายในบ้าน เพื่อที่จะสนุกกับตัวเลขในชีวิตประจำวัน สมุดภาพสีสันสดใส ช่วยในการเรียนรู้และฝึกให้เด็กเล็กและเด็กเริ่มหัดอ่าน ^^ได้พัฒนาทักษะเรื่องตัวเลขในชีวิตประจำวันที่ง่ายและสนุกสนาน เช่น การนับเลข การเรียงลำดับ เลขคู่ เลขคี่ การบวก ลบ และคูณเลขอย่างง่าย ๆ การนับจำนวนผลไม้ หรือ จำนวนเสื้อผ้าของตัวเด็กเอง



น่าสนเนอะ...แค่นี้ก็ทำให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

แล้วก็ยังทำให้เด็ก รู้หน้าที่ของตัวเองด้วย

แบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคของพ่อแม่ด้วย...ว่าจะทำไงให้เด็กคิดตามและรู้จักการนำไปใช้ ^^








วันพฤหัสบดี27,52 เวลา 15 :37 pm.

วันนี้..เพิ่งสมัคร Blogger ค่า >.<
ตื่นเต้นๆ จ๊ะเอ๋ ช่วยอะ *0*555 โอย~ แอร์ร้อนเกิ๊นน ไม่ไหวๆ - -"

ลงslide และ บทความ ด้วยล่ะ ^^'

งึมๆ -,.-

ทำไปฟังอาจารย์จ๋าไป มึนๆ มีร้องเพลงกันด้วย มึนๆๆ *0*

...ยืนให้ตรงๆก้มหัวลง ตบมือ...แปะ! 555 งงแล้วๆ

ไข่ 5 ฟอง กอง อยู่ บนโต๊ะ แคก ดัง โพล๊ะ! เหลือไข่ 1 ฟอง... - -' - -"

*0*


ความหมายของการจัดประสบการณ์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 58) ได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ไว้ว่า การจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นในระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาการทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการสังเกตโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์เป็นการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยที่มิใช่มุ่งเน้นด้านวิชาการหรือการเรียนเนื้อหาวิชาการ แต่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์ตรงกับสื่อสิ่งแวดล้อม บุคคล ตามความสามารถของเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับต่อไปหลักการจัดประสบการณ์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537 : 18)
ได้กล่าวไว้ว่า ควรคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาของผู้เรียน
2. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียน และควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและมีคุณธรรม
4. ประสบการณ์ที่จัดควรเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมทากที่สุด
5. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ควรมีวิธีใช้แรงจูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
6. ควรหาแนวทางในการประเมินผลที่เหมาะสมหลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย



แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม
ดังนี้
1.1 ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ
5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์


ดังนั้น หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ"

กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยคณิตศาสตร์เป็นความสามารถด้านสติปัญญา

ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น จึงยึดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ มี 5 ขั้นตอน คือ
1. ความสามารถในการใช้กระบวนการที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol)
2. ความสามารถในการคิดหาเหตุผล (Reasoning Thinking)
3. ความสามารถในการวางเป้าหมายในการกระทำ (Goal)
4. ความสามารถในการปฏิบัติอย่างได้ผลต่อสิ่งแวดล้อม
5. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเอง



โดยหลักสูตรสำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory - Motor) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด กิจกรรมที่สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว


การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในทัศนะของเปียเจต์ การที่เด็กได้มีโอกาสสัมผัส ต้องจับต้องสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย น้ำ หิน ฯลฯ เป็นสื่อเบื้องต้นที่จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสรับรู้ และการเคลื่อนไหว เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของวัตถุ เช่น เรื่องน้ำหนัก เนื้อสาร ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับโครงสร้างอื่น ๆ ดังนั้นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนในวัยนี้จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด